วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid)


 ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) คือก้อนหินขนาดเล็กซึ่งรวมอยู่ด้วยกันจำนวนหลายพันก้อนในระบบสุริยะ  รายล้อมดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์คล้ายดาวเคราะห์  อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี  เรียกบริเวณนี้ว่า แถบดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt)  ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2.0 3.3 au.  ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ  ดารเคราะห์น้อยซีเรส(Ceres)  มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร  ถ่ายภาพไว้ได้โดยยานอวกาศกาลิเลโอ(Galileo Space Probe) 
ดาวเคราะห์น้อยจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท  โดยพิจารณาจากการสะท้อนแสงอาทิตย์  คือ
1.     C-type Asteroid (Cabonaceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้น้อยมาก  มองดูมืดที่สุด  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน(ถ่าน) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 75%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
2.    S-type Asteroid (Silicaceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้ปานกลาง  มองดูเป็นสีเทา  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกา(Silica) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 15%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
3.     M-type Asteroid (Metaliceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้มากที่สุดมองดูสว่าง  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโลหะ(Metal)เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 10%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด

วิธีการใหม่ ช่วยวัดขนาดและรูปร่างดาวเคราะห์น้อย
กลุ่มนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและอิตาลี ได้ออกแบบวิธีการใหม่ที่จะใช้วัดขนาดและรูปร่างของดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กหรือไกลกว่าที่วิธีการแบบเดิมจะตรวจวัดได้โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับได้ โดยวิธีการใหม่นี้จะเพิ่มปริมาณดาวเคราะห์น้อยที่สามารถวัดด้วยหลายร้อยเท่า กลวิธีใหม่นี้ใช้ความล้ำหน้าของอุปกรณ์ Very Large Telescope Interferometer(VLTI)ของหอสังเกตการณ์ท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป Marco Delbo จากหอสังเกตการณ์Observatoire de la Côte d''Azur ประเทศฝรั่งเศสหัวหน้าคณะนักวิจัยกล่าวว่า“ความรู้เกี่ยวกับขนาดและรูปร่างของดาวเคราะห์น้อยมีความสำคัญในการทำความเข้าใจ ระบบสุริยะของเราในยุคแรกว่าฝุ่น และก้อนหินขนาดเล็ก รวมตัวกันเป็นเทหวัตถุที่ใหญ่ขึ้นได้อย่างไร และการชนกับการเกาะกลุ่มกันใหม่ช่วยในการแปรเปลี่ยนสภาพเทหวัตถุอย่างไร”การถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์ปรับแต่งทางแสงซึ่งติดตั้งกับกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน อย่างเช่น VLTในประเทศชิลี และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ หรือการสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์ เป็นแนวทางหลักในการสำรวจตรวจวัดปริมาณทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อย อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพโดยตรงแม้แต่ถ่ายผ่านอุปกรณ์

ปรับแต่งเชิงแสง ก็มีข้อจำกัด เพราะถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้เพียงหลักร้อยดวงเท่านั้น ขณะที่คลื่นเรดาร์ก็มีข้อจำกัดที่ต้องเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่โคจรเข้ามาใกล้โลกมากๆ เท่านั้น Delbo และคณะได้พัฒนาวิธีการใหม่ที่เรียกว่า“วิธีแทรกสอด”เพื่อวัดขนาดดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย 200 ล้านกิโลเมตรจากโลก เปรียบได้กับการวัดขนาดลูกเทนนิสที่อยู่ห่างออกไป 1,000 กิโลเมตร วิธีการนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนเทหวัตถุที่สามารถวัดขนาดได้ให้มากขึ้น แต่ที่สำคัญคือการดึงเอาดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่มีสมบัติทางกายภาพแตกต่างจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ออกมาให้ศึกษากัน วิธีการแทรกสอดทางแสง เป็นการรวมแสงจากกล้องโทรทรรศน์จำนวนมากกว่าสองกล้องขึ้นไป พวกเขาใช้ VLTI ของ ESO รวมกับแสงจาก กล้องโทรทรรศน์ขนาด 8.2 เมตรของ VLT Sebastiano Ligori จาก INAF-Torin ประเทศอิตาลี หนึ่งในคณะทำงานกล่าวว่า“นี่เป็นความสอดคล้องในการสร้างมุมมองที่คมกริมเท่าเทียมกับกล้องโทรทรรศน์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับระยะห่างระหว่างกล้องโทรทรรศน์ทั้งสอง

ในกรณีนี้ คือ 47 เมตร”นักวิจัยประยุกต์เทคนิคของพวกเขาเพื่อใช้กับดาวเคราะห์น้อย(234)Barbara ซึ่งถูกค้นพบโดยAlberto Cellino เพื่อวัดสมบัติที่ผิดปกติค่อนข้างมาก แม้ว่ามันจะอยู่ไกล แต่การสังเกตการณ์โดย VLTI ก็พบว่าเทหวัตถุก้อนนี้มีรูปร่างผิดปกติ แบบจำลองที่สอดคล้องกับผลการวัดข้อมูลบ่งบอกว่ามันคือเทหวัตถุคู่ที่มีขนาดพอๆ กับเมืองขนาดใหญ่ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 37 และ 21 กิโลเมตร และทั้งสองก้อนอยู่ห่างกัน อย่างน้อย 24 กิโลเมตร ซึ่งก็คือดาวเคราะห์น้อยคู่นั่นเอง ท้องสองชิ้นดูเหมือนจะซ้อนกันอยู่ ดังนั้นมันจึงเหมือนกับถั่วลิสงขนาดยักษ์หรือไม่ก็แยกเป็น 2 ชิ้น แล้วโคจรรอบกันและกัน หากพบว่า Barbara เป็นดาวเคราะห์น้อยคู่ ก็จะยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นด้วยการรวมผลการวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง เข้ากับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับวงโคจร นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณความหนาแน่นของวัตถุทั้งสองก้อน เมื่อสามารถพิสูจน์ความสมบูรณ์ของวิธีการทางดาราศาสตร์ที่ใหม่และทรงพลังชนิดนี้แล้วคณะนักวิจัยสามารถดำเนินโครงการสำรวจดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กได้อีกมาก
ที่มา : eso.org : Powerful New Technique to Measure Asteroids'' Sizes and Shaprs